หน้าแรก บทความแนะนำ ความเครียดเจ้าปัญหา เจ้ามาจากหนใด

ความเครียดเจ้าปัญหา เจ้ามาจากหนใด

by suksan
ความเครียด

ความเครียดเจ้าปัญหา เจ้ามาจากหนใด

“เครียดดด….” คำนี้เราได้ยินกันบ่อย ๆ จนติดหู หันไปทางไหนก็พบเจอแต่คำว่าความเครียดและคนเครียด ๆ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในเมืองใหญ่ที่มีการแข่งขันสูง คำว่าเครียดแทบจะเป็นคำธรรมดาสามัญที่อธิบายอาการของคนสมัยนี้ หากวันนี้เราเรียนรู้ความหมายที่แท้จริงของคำว่าเครียดย่อมมีทางออกของแต่ล่ะเรื่องอยู่เสมอ

ความเครียดเป็นเรื่องของร่างกายและจิตใจที่เกิดการตื่นตัวเพื่อเตรียมรับกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเราคิดว่าไม่น่าพอใจ เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสเกินกำลังทรัพยากรที่เรามีอยู่ หรือเกินความสามารถของเราที่จะแก้ไขได้ ทำให้รู้สึกหนักใจ เป็นทุกข์ ทำให้เกิดอาการผิดปกติทางร่างกายและพฤติกรรมตามไปด้วย

ความเครียดอาจนำสิ่งไม่ดีมาแก่เรา แต่ในความเป็นจริงความเครียดในระดับที่พอดีสามารถที่จะช่วยกระตุ้นให้มีพลัง มีความกระตือรือรัน และผลักดันให้เอาชนะอุปสรรค์ได้

  1. ความเครียดเกิดจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการได้แก่
ความเครียด
  1. สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต 

เช่น ปัญหาการเงิน, การงาน, ครอบครัว, การเรียน, สุขภาพ, ปัญหามลพิษ,รถติด, น้ำท่วม, ฝนแล้ง, ปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคล เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้นทำให้คนเราเกิดความเครียดขึ้นมาได้

  1. การคิดและการประเมินสถานการณ์ของบุคคล 

เราจะสังเกตได้ว่าคนที่มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ใจเย็น จะมีความเครียดน้อยกว่าคนที่มองโลกในแง่ร้าย เอาจริงเอาจังกับชีวิต และใจร้อน และคนที่สามารถเป็นที่ปรึกษาหรือให้ความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาต่าง ๆ อีกอีกคนก็จะมีความเครียดน้อยกว่าคนอื่น

  1. สาเหตุของการเกิดความเครียดระดับรุนแรงได้แก่
ความเครียด

การเสียชีวิตของคู่ครอง, การหย่าร้าง, การแยกทางกันในชีวิตสมรส, การเสียชีวิตของญาติสนิท, การได้รับบาดเจ็บหรือเป็นโรคที่ร้ายแรง, ถูกจำคุกหรือถูกส่งเข้าไปอยู่ในสถานบำบัด, การสมรส, ถูกให้ออกจากงาน, การเกษียณอายุ, ญาติมีสุขภาพไม่ดีหรือมีพฤติกรรมที่ผิดปกติอย่างมาก

  1. สาเหตุของการเกิดความเครียดระดับปานกลางได้แก่
ความเครียด

ตั้งครรภ์, มีปัญหาทางเพศ, มีสมาชิกครอบครัวเพิ่มขึ้น เช่น การคลอดบุตรและการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม, มีปัญหาทางธุรกิจอย่างรุนแรง เช่น ล้มละลาย, มีปัญหาทางจานะอย่างรุนแรง เช่น มีหนี้สิน, การเสียชีวิตของเพื่อนสนิท, เปลี่ยนสายงานที่ทำ, มีปากเสียงกับคู่ครอง เช่น การเลี้ยงดูบุตร หรืออุปนิสัยเข้ากันไม่ได้, การกู้เงินมาใช้จำนวนมาก เช่น ซื้อบ้าน, หน้าที่ความรับผิดชอบทางด้านการงานเพิ่มขึ้น

  1. ข้อเสียของความเครียดที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อเราได้แก่
    1. ทางร่างกาย 

เช่น อาการปวดศีรษะ ไมเกรน ท้องเสียหรือท้องผูก นอนไม่หลับหรือง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เบื่ออาหารหรือกินมากกว่าปกติ ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ประจำเดือนมาไม่ปกติ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มือเย็นเท้าเย็น เหงื่อออกตามมือตามเท้า ใจสั่น ถอนหายใจบ่อย ๆ ผิวหนังเป็นผื่นคัน เป็นหวัดบ่อย ๆ แพ้อากาศง่าย เป็นต้น

  1. ทางจิตใจ 

เช่น ความวิตกกังวล คิดมาก คิดฟุ้งซ่านหลงลืมง่าย ไม่มีสมาธิ หงุดหงิด โกรธง่าย ใจน้อย เบื่อหน่าย ซึมเศร้าเหงา ว้าเหว่ สิ้นหวัง หมดความรู้สึกสนุกสนาน เป็นต้น

  1. ทางพฤติกรรม 

เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรามากขึ้น ใช้ยานอนหลับ จู้จี้ขี้บ่น ชวนทะเลาะ มีเรื่องขัดแย้งกับผู้อื่นบ่อย ๆ ดึงผม กัดเล็บ กัดฟัน ผุดลุกผุดนั่ง เงียบขรึม เก็บตัว เป็นตัน บทความจาก หวยสดพลัส

Leave a Comment