หน้าแรก บทความแนะนำ วิธีคำนวณน้ำหนักและรูปร่างง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

วิธีคำนวณน้ำหนักและรูปร่างง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

by suksan
น้ำหนัก

วิธีคำนวณน้ำหนักและรูปร่างง่าย ๆ ด้วยตัวเอง

ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีกินผักผลไม้สามสีเพื่อลดน้ำหนัก มาทำความรู้จักกับศัตรูที่ชื่อว่าความอ้วนกันก่อนดีกว่าค่ะ การประเมินตัวเองว่ามีน้ำหนักที่เหมาะสมกับรูปร่างและสัดส่วนแล้วหรือยัง จึงต้องใช้วิธีการวัดที่ได้มาตรฐานและเที่ยงตรง ซึ่งปัจจุบันมีด้วยกันหลายวิธี โดยวิธีที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลกคือ ดัชนีมวลของร่างกาย หรือ Body Mass Index มีชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า BMI ซึ่งมีสูตรดังนี้

ดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ส่วนสูง2 (เมตร)

วิธีการคิดคือ หากเรามีส่วนสูง 165 เซนติเมตร หนัก 70 กิโลกรัมก็จะได้สูตรดังนี้

70 กิโลกรัม / (1.65 เมตร)2 = 25.712 กิโลกรัม/เมตร เมื่อได้ผลแล้วจึงนำไปเปรียบเทียบกับตารางต่อไปนี้

  1. แสดงดัชนีมวลกาย

น้อยกว่า 18 = น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

ระหว่าง 18.5 – 24.9 = น้ำหนักสมส่วน

ระหว่าง 25 – 29.9 = น้ำหนักเกิน

มากกว่า 30 = อ้วน

มากกว่า 40 = อ้วนมาก

  1. วิธีคำนวณน้ำหนักอย่างง่าย คือนำความสูงมาลบกับตัวเลขตามลสูตรต่อไปนี้
น้ำหนัก

ชาย = ความสูง (เซนติเมตร) – 100

หญิง = ความสูง (เซนติเมตร) – 100) – 10% (ความสูง – 100)

เช่น ผู้ชายสูง 175 เซนติเมตร ก็จะได้สูตรดังนี้ 175 – 100 = 75

ดังนั้นน้ำหนักตัวที่เหมาะสมคือ 75 กิโลกรัม

ส่วนผู้หญิงที่สูง 165 จะได้สูตรดังนี้ (165 – 100) – 10% (165 – 100) = 65 – 6.5 = 58.5

ดังนั้นน้ำหนักตัวที่เหมาะสมคือ 58.5 กิโลกรัม

การมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมตามสูตรการคำนวณแล้ว แต่ยังรู้สึกว่ามีส่วนเกินตามร่างกายอยู่มาก อยากให้ลองส่องกระจกดูรูปร่างของตนเอง และสังเกตว่ารูปร่างส่วนใดมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป เพราะโครงสร้างของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน แบ่งออกเป็น 3 แบบดังต่อไปนี้

น้ำหนัก
  1. โครงสร้างแอปเปิล 

คนที่มีรูปร่างแบบนี้ มักมีขนาดลำตัวและมีไขมันสะสมที่ร่างกายท่อนบนมากกว่าช่วงล่าง คือไหล่ หน้าอก และหน้าท้อง คนกลุ่มนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจ และเส้นโรคหัวใจตีบมากกว่าผู้ที่มีโครงสร้างอื่น ๆ

  1. โครงสร้างลูกแพร์ 

ผู้ที่มีโครงสร้างลูกแพร์จะมีไขมันสะสมที่ลำตัวช่วงล่างมากกว่า ทำให้มีขนาดของสะโพก ก้น และต้นขาที่ใหญ่ ผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีรูปร่างแบบนี้ เพราะผลกระทบจากฮอร์โมนและถึงแม้จะไม่มีปัญหาสุขภาพที่น่ากังวลเท่ากับผู้ที่มีโครงสร้างแอปเปิล แต่ปัญหาสำคัญก็คือ ไขมันที่สะสมบริเวณสะโพกและต้นขานั้นลดยาก

  1. โครงสร้างสมส่วน 

หากส่องกระจกแล้วพบว่ารูปร่างมีความสมส่วนดี ไม่มีส่วนไหนที่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป แสดงว่าไขมันที่คุณกินเข้าไปนั้นถูกสะสมอยู่ทุกส่วนของร่างกายอย่างเท่า ๆ กัน

ซึ่งนั่นหมายความว่า เมื่อคุณคิดที่จะลดน้ำหนักคุณเพียงแค่ควบคุมอาหารและออกกำลังกาย คุณก็จะได้รูปร่างผอมเพรียวลมส่วนตามมาทันที เมื่อทำความรู้จักรูปร่างของตัวเองแล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาเรียนรู้เคล็ดลับการกินเมนูผักผลไม้สามสีเพื่อสุขภาพกันแล้วค่ะ บทคามดีๆ จากล็อตโต้สด

น้ำหนัก

Leave a Comment