
เมล็ดทานตะวัน ของกินเล่นยอดนิยมมีโอเมก้า 6
ทุ่งทานตะวันเป็นที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยว เพราะความสวยงามของดอกทานตะวันที่เบ่งบานรับแสงตะวัน แต่ขณะเดียวกันเมื่อพ้นช่วงที่ดอกบานแล้ว เมล็ดทานตะวันก็ถือเป็นผลิตผลที่มีคุณค่าไม่น้อยไปกว่าดอกทานตะวันเลย ประโยชน์มีโอเมก้า 6 ที่เป็นจุดเด่นช่วยลดการทำงานของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และลดการเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือดลดน้อยลง ช่วยลดอาการปวดและอาการอักเสบต่าง ๆ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
- ประโยชน์ของเมล็ดทานตะวันทั้งในระดับอุตสาหกรรม และใช้ในวงการแพทย์

การใช้เมล็ดทานตะวันในบ้านเราจะมีอยู่หลายรูปแบบ ตั้งแต่ในระดับอุตสาหกรรม นั่นคือการนำมาผลิตเป็นน้ำมันดอกทานตะวันสำหรับบริโภค ใช้ในอุตสาหกรรมสบู่ ใช้เป็นแว็กซ์เคลือบผิวผลไม้ ใช้ทำขี้ผึ้ง เทียนไข เครื่องสำอาง เนยเทียม และน้ำมันสลัด
บางส่วนไม่ได้นำไปแปรรูปเป็นน้ำมัน แต่ยังอยู่ในรูปของธัญพืช คือการนำมาอบเพื่อบริโภค ขณะที่บางส่วนนำไปผลิตเป็น “เลซิติน” เพื่อใช้ในวงการแพทย์ เลซิติน (Lecithin) คือไขมันที่มีความจำเป็นต่อเซลล์ทุกชนิดในร่างกาย เป็นส่วนที่ควบคุมการเข้า-ออกของสารอาหาร เลซิตินจะมีลักษณะแข็งและขาดความยืดหยุ่น เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มสมอง กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท มีคุณสมบัติเป็นสารที่ทำให้น้ำกับน้ำมันเข้ากันได้ ซึ่งนำมาใช้ในการควบคุมคอเลสเตอรอลในเลือดอย่างแพร่หลาย
เมล็ดทานตะวันจัดเป็นอาหารสุขภาพชั้นดี มีกรดไขมันลิโนเลอิก (Linoleic acid) ซึ่งมีประโยชน์มากในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคมะเร็ง กรดลิลดระดับทั้งคอเลสเตอรอลรวมและคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) อันเป็นสาเหตุของการเกิดโนเลอิก ช่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการแข็งตัวของเกล็ดเลือดได้อีกด้วย
- จุดเด่นด้านสารอาหารของเมล็ดทานตะวันคือ ฟอสฟอรัส ทองแดง แมงกานีส และ โอเมก้า 6

- ฟอสฟอรัส
ร่างกายควรได้รับ 700-1,000 มิลลิกรัม ต่อวัน ในขณะที่เมล็ดทานตะวัน 100 กรัม มีปริมาณฟอสฟอรัสมากถึง 1,158 มิลลิกรัม
- ทองแดง
อาจไม่ใช่แร่ธาตุที่ถูกพูดถึงมากนัก เพราะทองแดงไม่ได้มีหน้าที่โดดเด่นในการทำงานด้านใดด้านหนึ่ง หากแต่เป็นแร่ธาตุที่ช่วยให้ปฏิกิริยาต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้คล่องตัวขึ้น
- แมงกานีส
จำเป็นสำหรับการกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์บางตัวในร่างกาย และมีส่วนช่วยในการนำโปรตีนจากอาหารมาใช้ในร่างกาย ช่วยในการสร้างฮอร์โมนเพศ บำรุงสุขภาพของเส้นประสาทช่วยหล่อลื่นข้อต่อระหว่างกระดูกเสริมให้เกิดโครงสร้างกระดูกที่ดี และช่วยในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอัตราเร็วของกระบวนการสร้าง และทำลายในร่างกายโดยปริมาณแมงกานีสที่ร่างกายควรได้รับต่อวันคือ ราว 2 มิลลิกรัม ซึ่งเมล็ดทานตะวัน 100 กรัมมีปริมาณที่มากเพียงพอ
- โอเมก้า 6
ที่ถือว่าสูงมากของเมล็ดทานตะวันก็เป็นเรื่องที่ต้องระวัง เพราะสัดส่วนที่สมดุลของโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 เป็นเรื่องสำคัญ การได้รับโอเมก้า 6 ในปริมาณที่มากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ สัดส่วนที่พอเหมาะสำหรับร่างกาย คือ โอเมก้า 3 : โอเมก้า 6 เท่ากับ 1 : 5 บทความดีๆจากล็อตโต้สด